กำหนดการเปิดรับสมัคร

TCAS 1

Portfolio

1 - 20

ธ.ค. 2565

รับสมัครจำนวน

20

คน

TCAS 2

Quota

1 - 15

มี.ค. 2566

รับสมัครจำนวน

20

คน

TCAS 3

Admission

7 - 13

พ.ค. 2566

รับสมัครจำนวน

10

คน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

25,000

บาท / ภาคการศึกษา

ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมอาหาร ?

หลักสูตรวิศวกรรมอาหาร ปีการศึกษา 2564 เน้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการระบบการผลิตอาหารอาหารทั้งระบบ ในมุมมองของการผลิตอาหารขนาดใหญ่ ให้เข้าใจว่าในโรงงานอาหารมีอะไรบ้างและแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร ตั้งแต่ความรู้ด้านการออกแบบโรงงาน ความรู้ที่สำคัญที่เกี่ยวกับผลิตอาหาร การเลือกใช้หรือกำหนดเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตระดับอุตสาหกรรม และความรู้เกี่ยวกับระบบสนับสนุนต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในโรงงาน เช่น ไฟฟ้า การวัดและควบคุม ระบบอัตโนมัติ ระบบน้ำใช้ และระบบน้ำเสีย รวมไปถึงเศรษฐศาสตร์และระบบการเงินที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  1. นักศึกษาที่ต้องการต่อยอดกิจการที่บ้าน จากการผลิตในครัวเรือนหรือโรงงานขนาดเล็ก ให้เป็นระบบการผลิตที่ใหญ่ขึ้นและเป็นไปตามกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
  2. นักศึกษาที่ต้องการสร้างสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อาหารเป็นของตนเองและอยากเข้าใจระบบการผลิตขนาดใหญ่ในมุมมองของวิศวกร โดยที่นี่มีบุคลากรและทุนวิจัยที่พร้อมสนับสนุนนักศึกษาอย่างเต็มที่
  3. นักศึกษาที่มีความสนใจอยากทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอาหาร

ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมอาหาร ที่ สจล. ?

วิศวกรรมอาหารลาดกระบังมีโรงงานต้นแบบที่นักศึกษาสามารถเรียนรู้ระบบโรงงานอาหารจริงโดยไม่ต้องไปดูงานข้างนอก มีเครือข่ายกับภาคอุตสาหกรรมจำนวนมาก อาจารย์หลายท่านในภาควิชาเป็นตัวแทนภูมิภาคของ EHEDG (European Hygienic Equipment Design Group) ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งในสหภาพยุโรป ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความก้าวหน้าในด้านสุขอนามัยและวิศวกรรมอาหาร เพื่อดูแลและถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติ Hygienic Engineering and Design ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย ได้แก่ ผู้ผลิตอาหาร ผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องจักร บริษัทจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแปรรูปอาหาร บริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบ ติดตั้งเครื่องจักร และการวางผังโรงงานอุตสาหกรรมอาหารให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ หลักสูตรวิศวกรรมอาหาร ปีการศึกษา 2564 ได้ปรับปรุงเนื้อหาครั้งสำคัญ เพราะได้รวบรวมความคิดเห็นของศิษย์เก่าจำนวนมาก รวมถึงผู้ใช้บัณฑิต เกี่ยวกับองค์ความรู้ที่จำเป็นในปัจจุบัน โดยเพิ่มเนื้อหาระบบควบคุมและอัตโนมัติ เพราะอุตสาหกรรมอาหารปัจจุบันใช้ระบบอัตโนมัติเป็นจำนวนมาก รวมถึงเพิ่มองค์ความรู้ด้านระบบสนับสนุนต่าง ๆ ในโรงงานที่หน้างานจริงเป็นสิ่งสำคัญมาก ระบบ hygienic design และการจัดการระบบในโรงงานผลิตอาหารที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเนื้อหาวิชาเครื่องกลบางส่วนที่เคยเน้นในช่วงเริ่มก่อตั้งหลักสูตรได้ถูกปรับลดลง จากเดิมที่หลักสูตรเน้นการออกแบบเครื่องจักร หลักสูตรใหม่จะเน้นจัดการระบบการผลิตอาหารในภาพรวม ให้สอดคล้องกับลักษณะงานในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จำเป็นในการทำงานจริงของวิศวกรอาหาร

โอกาสในการหางาน

  • ผู้ประกอบการ สร้างผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง
  • วิศวกรอาหาร วิศกรโรงงานอาหาร
  • วิศวกรในโรงงานที่สร้างระบบการผลิตอาหาร
  • วิศวกรฝ่ายขายเชิงเทคนิคของระบบ เครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิต

เงินเดือนเฉลี่ย 18,000-25,000 บาท

วิศวกรอาหารที่ทำงานในอุตหกรรมอาหาร เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นจะขยับไปสู่ระดับผู้จัดการโรงงาน วิศวกรโปรเจค(project engineer) เพราะเข้าใจศาสตร์หลายๆ แขนงทำให้สามารถสื่อสารกับบุคลากรในสาขาอื่น ๆ ได้ดี

ติดต่อเรา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง