วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

หลักสูตร วท.บ.

เทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยศาสตร์พระราชา (ต่อเนื่อง)

   ข้อมูลหลักสูตร  

กำหนดการเปิดรับสมัคร

ปวส. (ต่อเนื่อง)

รอบ 1

11 ก.ย. - 28

ต.ค. 2565

รับสมัครจำนวน

20

คน

ปวส. (ต่อเนื่อง)

รอบ 2

1 พ.ย. - 29

ธ.ค. 2565

รับสมัครจำนวน

20

คน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

15,000

บาท / ภาคการศึกษา

ทำไมต้องเรียน วท.บ. เทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยศาสตร์พระราชา (ต่อเนื่อง) ?

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยศาสตร์พระราชา มุ่งเน้นเสริมทักษะ และพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาด้านการคิดวิเคราะห์ ประยุกต์ศาสตร์พระราชา และปฏิบัติ เพื่อใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการจัดการผลิตพืชสำหรับจัดการทรัพยากรทางด้านการผลิตและทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อก้าวทันหรือเป็นผู้นำในการเป็นผู้ประกอบการและผู้ผลิต โดยเน้นทั้งวิทยาการเฉพาะสาขาและการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การพัฒนาสังคมทุกระดับให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ทำไมต้องเรียน วท.บ. เทคโนโลยีการผลิตพืชด้วยศาสตร์พระราชา (ต่อเนื่อง) ที่ สจล. ?

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. มุ่งผลิตบัณฑิต ที่เน้นคิด วิเคราะห์ และมีทักษะการปฏิบัติจริงจากการประยุกต์ศาสตร์พระราชาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร
2. ผลิตบัณฑิตที่มีแนวคิดเชิงสังคมสู่การเป็นนักพัฒนาเชิงพื้นที่ด้านศาสตร์พระราชา
3. ผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดี เก่ง มีวินัย คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและทันเหตุการณ์

และเมื่อบัณฑิตจบตามหลักสูตร จะมีผลลัพธ์การเรียนรู้ ดังนี้

-มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ มีธรรมาภิบาล และจิตอาสา

-มีความรู้ในศาสตร์ของหลักสูตรเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

-สามารถคิดวิเคราะห์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

-มีความเป็นผู้นำและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

-มีความรู้ในการทำวิจัย ใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรม และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

-ทักษะด้านการปฏิบัติวิชาชีพ

โอกาสในการหางาน

เป็นหลักสูตรที่สร้างบัณฑิตให้มีความพร้อมในการทำงานตรงตามสภาพความเป็นจริง เข้าใจถึงการใช้เทคโนโลยีในด้านการผลิตพืช ด้านการตลาดและด้านอื่นๆ ด้วยศาสตร์พระราชาเป็นอย่างดี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพได้ ดังนี้

– นักวิชาการเกษตร

-นักวิจัยในภาครัฐ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ

– อาชีพธุรกิจส่วนตัวด้านการผลิตพืชในรูปแบบครบวงจร การจำหน่ายปัจจัยการผลิตพืช

– พนักงานในหน่วยงานภาคเอกชน เช่น บริษัทผลิตสินค้าเกษตร บริษัทผลิตปัจจัยการผลิตพืช การเก็บรักษาสินค้าเกษตร บริษัทส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

ติดต่อเรา
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง