กำหนดการเปิดรับสมัคร

TCAS 1

Portfolio

วันนี้ - 20

ธ.ค. 2566

รับสมัครจำนวน

30

คน

TCAS 2

Quota

รอประกาศ

รอประกาศ 2567

รับสมัครจำนวน

15

คน

TCAS 3

Admission

รอประกาศ

รอประกาศ 2567

รับสมัครจำนวน

5

คน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

25,000

บาท / ภาคการศึกษา

ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ ?

ในโลกยุคดิจิทัล 4.0 ที่เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวันรวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ ที่การเชื่อมต่อสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างไร้พรมแดน ไม่เพียงแต่การสื่อสารระหว่างมนุษย์อย่างเดียว แต่ยังมีการเชื่อมต่อส่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือทุกสรรพสิ่ง จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งหรือเรียกสั้นๆว่าไอโอที (IoT) ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีด้านสมาร์ทเซ็นเซอร์ การสื่อสารและเครือข่าย คอมพิวเตอร์และการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่บูรณาการความรู้ในหลากหลายด้านหรือเรียกว่าสหวิทยาการเพื่อให้สามารถออกแบบสร้างนวัตกรรมด้านระบบไอโอทีและสารสนเทศได้

หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อนโยบายทางการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของรัฐบาล โดยมีความสอดคล้องกันกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2569) ที่ได้มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด (Disruption) และหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญนั้นคือ เทคโนโลยีระบบไอโอทีและสารสนเทศ เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ หรือที่เรียกว่า “S-Curve” ที่มีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉณิยะ และอุตสาหกรรมดิจิทัล (New S-Curve) รวมถึงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ภาครัฐจะสนับสนุนและมีความต้องการบัณฑิตในสาขานี้จำนวนมาก

หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ เป็นเสมือนฟันเฟืองที่เชื่อมองค์ประกอบของโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน ทั้งศึกษาที่เรียนในหลักสูตรนี้จะได้ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีระบบไอโอทีและสารสนเทศโดยอาศัยความรู้พื้นฐาน ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชัน ด้านฮาร์ดแวร์ได้แก่ การพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและสมาร์ทเซ็นเซอร์ รวมถึงเชื่อมโยงส่อสารเข้าหากันด้วย การศึกษาด้านการสื่อสารและเครือข่าย ไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล โดยผสมผสานความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้เข้ากับกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อออกแบบสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และส่งเสริมให้นักศึกศึกษาต่อยอดนวัตกรรมของตนเองเพื่อผลิตใช้หรือทำเป็นสตาร์ทอัพเพื่อสร้างธุรกิจของตนเองได้

ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ ที่ สจล. ?

หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศได้ดำเนินการหลักสูตรให้เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (บันได 5 ขั้น) โดยสอดคล้องตามนโยบายของสถาบันในเรื่อง “Disruptive Curriculum” ให้หลักสูตรมีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง และยังเป็น Disruptive Curriculum ในแง่ของการบูรณาหลักสูตรโดยมีความร่วมมือกับทางคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ หลักสูตรฟิสิกส์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ สจล. ในโครงการหลักสูตรสองปริญญา เพื่อทลายกำแพงระหว่างคณะ และส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และมีความรู้ที่รอบด้าน

หลักสูตรนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ตรงกันกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เนื่องจากเทคโนโลยีระบบไอโอทีนั้นเป็นหนึ่งในเทคโนโลยืที่มีความสำคัญ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ชาตินั้น อุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลให้การส่งเสริมหรือตรงกันกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย การปรับปรุงหลักสูตรนี้ ได้ปรับปรุงโดยออกแบบหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น เป็นหลักสูตรมีรายวิชาที่ให้นักศึกษาได้เลือกเรียนตามความถนัดมีรายวิชาบังคับเลือก เน้นการเรียนควบคู่ไปกับการปฏิบัติ มีการบูรณาการในหลายองค์ความรู้ มีความร่วมมือกับบริษัทหรือภาคอุตสาหกรรมในการเรียนการสอน

โอกาสในการหางาน

  • วิศวกรระบบไอโอที (IoT Engineer)
  • วิศวกรระบบสารสนเทศ (Information System Engineer)
  • วิศวกรระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System Engineer)
  • วิศวกรซอฟต์แวร์ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Software Engineer)
  • นักพัฒนาแอพพลิเคชัน (Application Developer)
  • โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
  • วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
  • นักพัฒนาส่วนหน้า (Front End Developer)
  • นักพัฒนาส่วนเบื้องหลัง (Back End Developer)
  • นักพัฒนาฟูลสแต็ก (Full Stack Developer)
  • วิศวกรระบบคลาว์ (Cloud Engineer)
  • วิศวกรระบบเครือข่าย (Network Engineer)
  • นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
  • วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
  • ผู้ดูแลระบบ (System Administrator)
  • นักวิจัย นักวิชาการ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านคอมพิวเตอร์หรือไอที ทั้งหมด
ติดต่อเรา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง