ทำไมต้องเรียน วท.บ. วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ ที่ สจล. ?
บัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำมีความสามารถในการทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและพืชน้ำตระหนักถึงสถานภาพและรู้คุณค่าการใช้ทรัพยากรทางน้ำมีความสามารถในการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษาและวิจัยให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยคำนึงถึงความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
จุดเด่นของหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ
สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จัดทำหลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรแรกของประเทศและของโลก (หลักสูตรใหม่ปี 2554)
1.เป็นที่ 1 ของหลักสูตรด้านการประมง/การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศ ที่มีทรัพยากรให้นักศึกษาได้เรียนปฏิบัติได้หลากหลายที่สุด อันได้แก่
1.1 ปฏิบัติการด้านน้ำจืด (เรามี Smart Farm) พื้นที่ 30 ไร่
1.2 ปฏิบัติการด้านน้ำกร่อย (เรามีอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การประมง 2 หลัง) พื้นที่ 1 ไร่
1.3 ปฏิบัติการด้านทะเลและชายฝั่ง (เรามีหาดและเกาะส่วนตัว) ได้แก่
– ชายหาดพระจอมเกล้าชุมพร (ห่างจากอาคาร 200 เมตร; หาดหิน หาดทราย)
– เกาะไข่ (เกาะเดียวที่มีกองซากปะการังกองเหมือนภูเขา มีชนิดปลากระเบนที่หลากหลายมากสุด
ในประเทศไทย)
2. เป็นที่ 1 ของหลักสูตรที่มีทรัพยากรการเรียนการสอนด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด อันได้แก่ การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล/ หอยหวาน/ ปูม้า ปูดำ/ ปลากะรัง (ปลาเก๋า) ปลากะพงขาว ปลาตะกรับ/ หมึกทะเล/ ปลิงดำ/ ดอกไม้ทะเล สาหร่าย และแพลงก์ตอนฯลฯ
3. เป็นหนึ่งเดียวของประเทศ ที่มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการผลิตปลาสวยงามและผลิตพรรณไม้น้ำในระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (tissue culture) และการปลูกแบบพืชไร้ดิน (hydroponic) จนสามารถผลิตได้ลูกปลาสวยงามและไม้น้ำอนูเบียสได้จำนวนมาก เพียงพอต่อการนำไปจำหน่ายเชิงพาณิชย์ (ตลาดฟิชวิลเลจ – ตลาดกลางปลาสวยงามและสัตว์เลี้ยงของอาเซียน)
4. เป็น 1 ใน 5 ของประเทศ ที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับการว่ายน้ำ ความปลอดภัยทางน้ำ การช่วยเหลือคนตกน้ำ การดำน้ำตื้น (Snorkeling) และการดำน้ำลึก (Scuba) ทั้งเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและเพื่อการวิจัยทางทะเล
– การเรียน Scuba จะได้ใบประกาศนียบัตรการดำน้ำ และสามารถนำไปใช้เพื่อประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำทั้งในระดับประเทศและสากลได้
5. เป็นหลักสูตรที่เน้นผลการปฏิบัติไปสู่การสร้างรายได้ในระหว่างการเรียนและหลังการเรียน (มีรายได้จาก 3 ธุรกิจ ซึ่งเป็นผลจากการต่อยอดการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา)
5.1 การผลิตและแปรรูปสาหร่ายช่อพริกไทย เพื่อส่งร้านอาหารในเขตภาคใต้
5.2 การผลิตไม้น้ำอนูเบียส เพื่อส่งตลาด เพื่อส่งตลาดฟิชวิลเลจ
5.3 การผลิตลูกปลาน้ำจืดและลูกปลาสวยงาม เพื่อเกษตรกร และอาหารกลางวันโรงเรียน
– มีรายได้ระหว่างเรียน (จากพืชและสัตว์น้ำที่เรียน) สามารถช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้านได้
6. มุ่งเน้นผลิตบัณฑิต ให้เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการประมงและธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายใหม่ของประเทศ (ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป)