กำหนดการเปิดรับสมัคร

TCAS 1

Portfolio

1 - 20

ธ.ค. 2565

รับสมัครจำนวน

30

คน

TCAS 2

Quota

1 - 15

มี.ค. 2566

รับสมัครจำนวน

15

คน

TCAS 3

Admission

7 - 13

พ.ค. 2566

รับสมัครจำนวน

5

คน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

25,000

บาท / ภาคการศึกษา

ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมขนส่งทางราง ?

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ทั้งการขนส่งคนภายในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร เป็นต้น การขนส่งสินค้าระหว่างเมืองด้วยโครงการรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังมีรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคอยและรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาบุคลากรในระบบขนส่งทางราง ซึ่งจะประกอบไปด้วย วิศวกรและช่างเทคนิค เพื่อมารองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางดังกล่าว ดังนั้นหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางรางจึงถือได้ว่าเป็นหลักสูตรที่มีความจำเป็นในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง

ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมขนส่งทางราง ที่ สจล. ?

หลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง ของ สจล ถือว่าเป็นหลักสูตรที่เปิดเป็นที่แรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พศ. 2556 ได้มีการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมขนส่งทางรางออกไปแล้วสามรุ่น และได้ไปทำงานในอุตสาหกรรมขนส่งทางรางอย่างกว้างขวาง อีกทั้งบัณฑิตที่จบจากที่นี้ยังสามารถขอใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกล(กว.เครื่องกล) นอกจากนี้หลักสูตรที่นี้ยังได้ลงนามความตกลงร่วมมือกับ บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซีฟ่าง ชิงเต่า จำกัด ในการถ่ายโอนเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงให้กับนักศึกษา ดังนั้นทางหลักสูตรจึงมั่นใจได้ว่านักศึกษาจะสามารถได้เรียนรู้เทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัย

โอกาสในการหางาน

  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)
  • บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส
  • การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)
  • กรมการขนส่งทางราง
  • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท รับเหมาก่อสร้าง งานระบบรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน
  • บริษัท ที่ปรึกษา ทางวิศวกรรม
  • บริษัท ผลิตชิ้นส่วน ป้อนงานระบบขนส่งทางราง
  • บริษัท ซีเมนต์(ประเทศไทย) จำกัด

เงินเดือนที่จะได้รับ ไม่น้อยกว่า 25,000 บาท

ติดต่อเรา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง