คณะอุตสาหกรรมอาหาร

หลักสูตร วท.บ.

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

   ดูข้อมูลหลักสูตร  

กำหนดการเปิดรับสมัคร

TCAS 1

รอบพอร์ทฟอลิโอ

-

- -

รับสมัครจำนวน

50

คน

TCAS 1

รอบโควต้า

15 ก.พ. - 30 มี.ค.

2566

รับสมัครจำนวน

20

คน

TCAS 3

Admission 1

7 พ.ค. - 13 พ.ค.

2566

รับสมัครจำนวน

10

คน

TCAS 3

Admission 2

29 พ.ค. – 1 มิ.ย.

2566

รับสมัครจำนวน

-

คน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

21,000

บาท / ภาคการศึกษา

ทำไมต้องเรียน วท.บ. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ?

หลักสูตรนี้ที่เป็นที่รู้จักกันมานานของชาวไทย และเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทางด้านอุตสาหกรรมอาหารโดยตรง โดยใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้านอุตสาหกรรมอาหาร เรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและงานปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์อาหารอย่างเข้มข้นรวมถึงเรียนเกี่ยวกับอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารตะวันตก อาหารและขนมไทย และได้รับประสบการณ์การทำงานจริงในอุตสาหกรรมระหว่างการเรียน อุตสาหกรรมอาหารในฐานะผู้ใช้บัณฑิตก็ยังคงมีความต้องการบัณฑิตที่จบจากจากหลักสูตรนี้อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากอัตราการมีงานทำของบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรระหว่างปี 2558-2560 อยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 74.6 -94.1

ทำไมต้องเรียน วท.บ. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ที่ สจล. ?

หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ของคณะอุตสาหกรรมอาหารที่ สจล นั้น ยังมีความโดดเด่นที่ไม่เหมือนสถาบันอื่น คือ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาเอกด้านที่ตนเองสนใจและถนัด และอยากจะมีการฝึกทักษะให้เฉพาะด้านเพิ่มขึ้นไปอีก ได้แก่ 1. สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ที่มุ่งเน้นทักษะการเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีอาหาร ที่จะไปทำงาน ทางด้าน กระบวนการผลิตอาหาร การประกันและการควบคุมคุณภาพอาหาร และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใน โรงงานอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีมากในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน 2. สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการบริการอาหารและการจัดการ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะเพิ่มเติมทางด้าน ทักษะด้านศิลปะการประกอบอาหาร ศิลปะการจัดแต่งจานอาหาร และการบริหารจัดการธุรกิจอาหาร การบริหารจัดการทางด้านเทคโนโลยีการบริการอาหาร ซึ่งบัณฑิตที่จบออกไปสามารถทำงานได้ทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมการบริการอาหาร เช่น ครัวกลาง ของภัตตาคาร โรงแรม การจัดเลี้ยง และอุตสาหกรรมบริการอาหารอื่น ๆ รวมถึงการเป็นผู้ประกอบอิสระการด้านอาหารได้อีกด้วย

โอกาสในการหางาน

เจ้าหน้าที่ฝ่ายการผลิต
เจ้าหน้าที่ฝ่ายการวางแผนการผลิต
เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสุขาภิบาล
นักวิทยาศาสตร์
นักวิชาการ
นักวิจัยและพัฒนา
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
ธุรกิจการบริการอาหารและการจัดการ
อัตราเงินเฉลี่ยแรกทำงานอยู่ที่ 18,264 บาท

ติดต่อเรา
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง