69588711_2341888289258664_7462785601293516800_n.jpg
หลักสูตร วท.บ.
วิศวกรรมไฟฟ้า

กำหนดการเปิดรับสมัคร

1 มกราคม 2513 20 ธันวาคม 2567
TCAS1 Portfolio
จำนวน 90 ผู้สมัคร
1 มกราคม 2513 14 มีนาคม 2568
TCAS2 Quota
จำนวน 40 ผู้สมัคร
6-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
TCAS3 Admission
จำนวน 20 ผู้สมัคร
67791378_2309118425868984_3015965982742020096_n-1024x683.jpg
ค่าธรรมเนียมการศึกษา วิศวกรรมไฟฟ้า
25,000.- บาท/ภาคการศึกษา
69560156_2341887962592030_2725149769990144000_n-1024x768.jpg
69588711_2341888289258664_7462785601293516800_n-1024x768.jpg
ทำไมต้องเรียน วท.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า ?

ไฟฟ้ากำลัง เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับ การผลิต การส่ง การจ่าย และกักเก็บพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่โรงงานผลิตไฟฟ้า ส่งกำลังผ่านโครงข่ายสายส่งไฟฟ้า ไปยังผู้บริโภคทั้งที่เป็นอุตสาหกรรม แหล่งธุรกิจ และ บ้านเรือนที่พักอาศัย สาขานี้จะเกี่ยวพันกับทั้ง โครงข่ายสายส่ง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการส่งกำลังไฟฟ้า ที่ศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าที่ศักย์ไฟฟ้าตามบ้านมาก ตั้งแต่หลายพันโวลต์ จนถึง หลายแสนโวลต์ และส่งกำลังหลายล้านวัตต์ ทุกวันนี้ สาขานี้ยังรวมไปถึงเศรษฐศาสตร์ ของไฟฟ้ากำลังอีกด้วย ทั้งการวิเคราะห์และคาดหมายปริมาณการบริโภคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า รูปแบบโครงสร้างเสรีในการซื้อขายกำลังไฟฟ้า นอกจากเรื่องพื้นฐานข้างต้นแล้ว ปัจจุบันสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ยังมุ่งเน้นการพัฒนาระบบสมาร์ทกริดที่นำเอาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีแบตเตอรี่หรือระบบกักเก็บพลังงาน เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีสาระสนเทศน์ เทคโนโลยีการจัดการ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาช่วยวางแผนและจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และมีความเชื่อถือได้ ในสภาวะที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (climate Change) จากการสะสมของคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในชั้นบรรยากาศ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนจะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ ในส่วนของระบบคมนาคมขนส่ง วิศวกรรมไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากการขนส่งโดยใช้พลังงานไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็น รถไฟ หรือ รถยนต์ มีประสิทธิภาพและสมรรถนะที่ดีกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายใน และยังก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเป็นอย่างมาก การใช้ยานยนต์ไฟฟ้านอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้วยังไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์อีกด้วย

12185168_869013699879471_1326917055075473759_o-1024x768.jpg
ทำไมต้องเรียน วท.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า ที่ สจล.

หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าที่ สจล. เป็นหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าเฉพาะด้านไฟฟ้ากำลัง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการเรียนการสอนด้านไฟฟ้ากำลังตั้งแต่ระดับปริญาตรีถึงปริญญาเอก เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จากสภาวิศวกรได้ หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าที่ สจล. มีแผนการเรียน 2 แผนการเรียนตามความสนใจ​โดยทั้งสองแผนการเรียนจะได้เรียนวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังร่วมกัน และจะแยกแผนการเรียนเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 1. แผนการเรียนด้านไฟฟ้ากำลัง ซึ่งเน้นไปทางด้านระบบโครงข่ายไฟฟ้า การควบคุมการผลิต การส่งและจำหน่ายไฟฟ้า 2. แผนการเรียนด้านพลังงาน ซึ่งเน้นไปที่แหล่งพลังงานหมุนเวียน การผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์พลังงานและนโยบายพลังงาน สำหรับแผนการเรียนพลังงานยังสามารถสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรผู้รับผิดชอบพลังงานสามัญของกระทรวงพลังงานได้อีกด้วย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ามีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ มีอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการปฏิบัติการและการวิจัยที่ทันสมัยและสมบูรณ์ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ สามารถเข้าทำงานในบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้าและพลังงานที่มีชื่อเสียง และเนื่องจากเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมพื้นฐานจึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

โอกาสในการหางาน ดู Skill Mapping ของหลักสูตร
วิศวกรไฟฟ้า
วิศวกรโรงงาน
ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
วิศวกรที่ปรึกษา
วิศวกรโครงการ
วิศวกรออกแบบ
ผู้รับเหมางานระบบ
ธุรกิจส่วนตัว
 
เงินเดือนเริ่มต้น20,000-40,000บาท
บรรยากาศการเรียนวิศวกรรมไฟฟ้า
12185168_869013699879471_1326917055075473759_o-1024x768.jpg
40387788_1806243299489835_7158767346268504064_n-1024x683.jpg
40491581_1806243302823168_3097899970041217024_n-1024x683.jpg
67791378_2309118425868984_3015965982742020096_n-1024x683.jpg
68735249_2340214479426045_5120224650378346496_n-1024x683.jpg
68955271_2341887865925373_379571883722407936_n-1024x768.jpg
69560156_2341887962592030_2725149769990144000_n-1024x768.jpg
69588711_2341888289258664_7462785601293516800_n-1024x768.jpg