iot-forcurr-1.jpg
หลักสูตร วศ.บ.
วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ

กำหนดการเปิดรับสมัคร

1 มกราคม 2513 20 ธันวาคม 2567
TCAS1 Portfolio
จำนวน 30 ผู้สมัคร
1 มกราคม 2513 14 มีนาคม 2568
TCAS2 Quota
จำนวน 15 ผู้สมัคร
6-12 เมษายน พ.ศ. 2568
TCAS3 Admission
จำนวน 5 ผู้สมัคร
301131508_4790120891089260_2818463023191193184_n-1024x683.jpg
ค่าธรรมเนียมการศึกษา วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ
25,000.- บาท/ภาคการศึกษา
302175945_4790121377755878_6540498284772324437_n-1024x683.jpg
296709306_4709269799174370_1091890095079519097_n-1024x686.jpg
ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ ?

ในโลกยุคดิจิทัล 4.0 ที่เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวันรวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ ที่การเชื่อมต่อสื่อสารนั้นเป็นไปอย่างไร้พรมแดน ไม่เพียงแต่การสื่อสารระหว่างมนุษย์อย่างเดียว แต่ยังมีการเชื่อมต่อส่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือทุกสรรพสิ่ง จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งหรือเรียกสั้นๆว่าไอโอที (IoT) ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีด้านสมาร์ทเซ็นเซอร์ การสื่อสารและเครือข่าย คอมพิวเตอร์และการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่บูรณาการความรู้ในหลากหลายด้านหรือเรียกว่าสหวิทยาการเพื่อให้สามารถออกแบบสร้างนวัตกรรมด้านระบบไอโอทีและสารสนเทศได้หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อนโยบายทางการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของรัฐบาล โดยมีความสอดคล้องกันกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2569) ที่ได้มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด (Disruption) และหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญนั้นคือ เทคโนโลยีระบบไอโอทีและสารสนเทศ เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ หรือที่เรียกว่า “S-Curve” ที่มีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉณิยะ และอุตสาหกรรมดิจิทัล (New S-Curve) รวมถึงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ภาครัฐจะสนับสนุนและมีความต้องการบัณฑิตในสาขานี้จำนวนมากหลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ เป็นเสมือนฟันเฟืองที่เชื่อมองค์ประกอบของโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน ทั้งศึกษาที่เรียนในหลักสูตรนี้จะได้ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีระบบไอโอทีและสารสนเทศโดยอาศัยความรู้พื้นฐาน ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชัน ด้านฮาร์ดแวร์ได้แก่ การพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและสมาร์ทเซ็นเซอร์ รวมถึงเชื่อมโยงส่อสารเข้าหากันด้วย การศึกษาด้านการสื่อสารและเครือข่าย ไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล โดยผสมผสานความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้เข้ากับกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อออกแบบสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และส่งเสริมให้นักศึกศึกษาต่อยอดนวัตกรรมของตนเองเพื่อผลิตใช้หรือทำเป็นสตาร์ทอัพเพื่อสร้างธุรกิจของตนเองได้

274828278_4303858893048798_350201927667199497_n-1024x683.jpg
ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ ที่ สจล.

หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศได้ดำเนินการหลักสูตรให้เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (บันได 5 ขั้น) โดยสอดคล้องตามนโยบายของสถาบันในเรื่อง “Disruptive Curriculum” ให้หลักสูตรมีความทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง และยังเป็น Disruptive Curriculum ในแง่ของการบูรณาหลักสูตรโดยมีความร่วมมือกับทางคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ หลักสูตรฟิสิกส์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ สจล. ในโครงการหลักสูตรสองปริญญา เพื่อทลายกำแพงระหว่างคณะ และส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และมีความรู้ที่รอบด้านหลักสูตรนี้ยังเป็นหลักสูตรที่ตรงกันกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เนื่องจากเทคโนโลยีระบบไอโอทีนั้นเป็นหนึ่งในเทคโนโลยืที่มีความสำคัญ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ชาตินั้น อุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลให้การส่งเสริมหรือตรงกันกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย การปรับปรุงหลักสูตรนี้ ได้ปรับปรุงโดยออกแบบหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น เป็นหลักสูตรมีรายวิชาที่ให้นักศึกษาได้เลือกเรียนตามความถนัดมีรายวิชาบังคับเลือก เน้นการเรียนควบคู่ไปกับการปฏิบัติ มีการบูรณาการในหลายองค์ความรู้ มีความร่วมมือกับบริษัทหรือภาคอุตสาหกรรมในการเรียนการสอน

โอกาสในการหางาน ดู Skill Mapping ของหลักสูตร
วิศวกรระบบไอโอที (IoT Engineer)
วิศวกรระบบสารสนเทศ (Information System Engineer)
วิศวกรระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System Engineer)
วิศวกรซอฟต์แวร์ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Software Engineer)
นักพัฒนาแอพพลิเคชัน (Application Developer)
โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)
นักพัฒนาส่วนหน้า (Front End Developer)
นักพัฒนาส่วนเบื้องหลัง (Back End Developer)
นักพัฒนาฟูลสแต็ก (Full Stack Developer)
วิศวกรระบบคลาว์ (Cloud Engineer)
วิศวกรระบบเครือข่าย (Network Engineer)
นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)
วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
ผู้ดูแลระบบ (System Administrator)
นักวิจัย นักวิชาการ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านคอมพิวเตอร์หรือไอที ทั้งหมด
บรรยากาศการเรียนวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ
5-1-1024x683.jpg
5-1024x576.jpg
6-1024x576.jpg
8-1024x576.jpg
9-1024x576.jpg
274828278_4303858893048798_350201927667199497_n-1024x683.jpg
296709306_4709269799174370_1091890095079519097_n-1024x686.jpg
299958611_4784518674982815_2815738638293666669_n-1024x768.jpg
300222527_4790122157755800_5220602133672941497_n-1024x683.jpg
301131508_4790120891089260_2818463023191193184_n-1024x683.jpg
301577012_4790123621088987_1122187266598110116_n-1024x683.jpg
301695096_4790121484422534_517194458325159590_n-1024x683.jpg
302175945_4790121377755878_6540498284772324437_n-1024x683.jpg
327330746_938470363984721_29417334636328129_n.jpg
327457500_1966123660385811_3948233996961330390_n.jpg