วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร

หลักสูตร วท.บ.

วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ

   โครงการแฟ้มสะสมผลงาน  
   ข้อมูลหลักสูตร  

กำหนดการเปิดรับสมัคร

TCAS1

Portfolio

1 ก.ย. - 16

ธ.ค. 2565

รับสมัครจำนวน

60

คน

TCAS2

Quota

15 ก.พ. - 30

มี.ค. 2566

รับสมัครจำนวน

30

คน

TCAS3

Admission

7-13

พ.ค. 2566

รับสมัครจำนวน

-

คน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

15,000

บาท / ภาคการศึกษา

ทำไมต้องเรียน วท.บ. วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ ?

ความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ มีความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติครบทั้ง 3 ด้าน (ประมงน้ำจืด ประมงชายฝั่ง และประมงทะเล)สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะสม ตระหนักรู้สถานภาพและคุณค่าการใช้ทรัพยากรทางน้ำอย่างยั่งยืนเป็นคนดี คนเก่ง ใฝ่รู้ สู้งาน และมีคุณธรรมจริยธรรม สอดคล้องกับความต้องการกำลังพลเพื่อพัฒนาประเทศชาติ

ทำไมต้องเรียน วท.บ. วิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ ที่ สจล. ?

บัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำมีความสามารถในการทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและพืชน้ำตระหนักถึงสถานภาพและรู้คุณค่าการใช้ทรัพยากรทางน้ำมีความสามารถในการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษาและวิจัยให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยคำนึงถึงความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

 

จุดเด่นของหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ

สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

 สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จัดทำหลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรแรกของประเทศและของโลก (หลักสูตรใหม่ปี 2554)

1.เป็นที่ 1 ของหลักสูตรด้านการประมง/การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศ ที่มีทรัพยากรให้นักศึกษาได้เรียนปฏิบัติได้หลากหลายที่สุด อันได้แก่

1.1 ปฏิบัติการด้านน้ำจืด (เรามี Smart Farm) พื้นที่ 30 ไร่

1.2 ปฏิบัติการด้านน้ำกร่อย (เรามีอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การประมง 2 หลัง) พื้นที่ 1 ไร่

1.3 ปฏิบัติการด้านทะเลและชายฝั่ง (เรามีหาดและเกาะส่วนตัว) ได้แก่

– ชายหาดพระจอมเกล้าชุมพร (ห่างจากอาคาร 200 เมตร; หาดหิน หาดทราย)

– เกาะไข่ (เกาะเดียวที่มีกองซากปะการังกองเหมือนภูเขา มีชนิดปลากระเบนที่หลากหลายมากสุด

ในประเทศไทย)

2. เป็นที่ 1 ของหลักสูตรที่มีทรัพยากรการเรียนการสอนด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด อันได้แก่ การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล/ หอยหวาน/ ปูม้า ปูดำ/ ปลากะรัง (ปลาเก๋า) ปลากะพงขาว ปลาตะกรับ/ หมึกทะเล/ ปลิงดำ/ ดอกไม้ทะเล สาหร่าย และแพลงก์ตอนฯลฯ

3. เป็นหนึ่งเดียวของประเทศ ที่มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการผลิตปลาสวยงามและผลิตพรรณไม้น้ำในระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (tissue culture) และการปลูกแบบพืชไร้ดิน (hydroponic) จนสามารถผลิตได้ลูกปลาสวยงามและไม้น้ำอนูเบียสได้จำนวนมาก เพียงพอต่อการนำไปจำหน่ายเชิงพาณิชย์ (ตลาดฟิชวิลเลจ – ตลาดกลางปลาสวยงามและสัตว์เลี้ยงของอาเซียน)

4. เป็น 1 ใน 5 ของประเทศ ที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับการว่ายน้ำ ความปลอดภัยทางน้ำ การช่วยเหลือคนตกน้ำ การดำน้ำตื้น (Snorkeling) และการดำน้ำลึก (Scuba) ทั้งเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและเพื่อการวิจัยทางทะเล

– การเรียน Scuba จะได้ใบประกาศนียบัตรการดำน้ำ และสามารถนำไปใช้เพื่อประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำทั้งในระดับประเทศและสากลได้

5. เป็นหลักสูตรที่เน้นผลการปฏิบัติไปสู่การสร้างรายได้ในระหว่างการเรียนและหลังการเรียน (มีรายได้จาก 3 ธุรกิจ ซึ่งเป็นผลจากการต่อยอดการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา)

5.1 การผลิตและแปรรูปสาหร่ายช่อพริกไทย               เพื่อส่งร้านอาหารในเขตภาคใต้

5.2 การผลิตไม้น้ำอนูเบียส เพื่อส่งตลาด                    เพื่อส่งตลาดฟิชวิลเลจ

5.3 การผลิตลูกปลาน้ำจืดและลูกปลาสวยงาม             เพื่อเกษตรกร และอาหารกลางวันโรงเรียน

– มีรายได้ระหว่างเรียน (จากพืชและสัตว์น้ำที่เรียน) สามารถช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้านได้

6. มุ่งเน้นผลิตบัณฑิต ให้เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจการประมงและธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายใหม่ของประเทศ (ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป)

โอกาสในการหางาน

“อาชีพ
ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมเพื่อการทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำ การพัฒนาการทำประมงและการอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรทางน้ำที่สำคัญและการพัฒนาประเทศไทย 4.0 เนื่องจากผลผลิตสัตว์น้ำจัดเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่สำคัญที่สุด การผลิตสัตว์น้ำและการจัดบริหารทรัพยากรสัตว์น้ำและพืชน้ำอย่างยั่งยืนและเพียงพอต่อการบริโภคของประชากรโลก”

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ จะสามารถนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ตลอดจนประยุกษ์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประกอบอาชีพได้ ดังนี้

1. หน่วยงานราชการต่างๆ  เป็นนักวิชาการประมง นักวิทยาสาสตร์ ครู  ในหน่วยงานของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม  กระทรวงศึกษาธิการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ฯลฯ

2. องค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ฯลฯ

3. ภาคเอกชน เป็นนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พนักงานส่งเสริมการขาย พนักงานวิจัย พนักงานวิชาการ เช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์  บริษัทซีเฟรซอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยยูเนียน กรุ๊ป จำกัด ฯลฯ

4. ประกอบการและอาชีพอิสระด้านการประมง เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำ ฯลฯ

5. ประกอบการด้านการท่องเที่ยวทางทะเล ธุรกิจการดำน้ำ ฯลฯ

6. หน่วยงานอื่นๆ ที่มีลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อเรา
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง